การสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและบทความในวารสารระดับนานาชาติ
อนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
หลักเกณฑ์การสนับสนุน
- ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นสมาชิกของ TOTS
- ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็น Corresponding author หรือ First author ในผลงานวิจัย เพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
- หัวข้องานที่ขอการสนับสนุนต้องเป็นเรื่องของ Orthopaedic trauma โดยการพิจารณาของคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย ประธานอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ และคณะกรรมการฝ่ายวิจัยของอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
- ผลงานที่จะสนับสนุน มีดังต่อไปนี้ Original article, Review article, Technical Report, Brief report, Case report (โดยไม่รวมLetter to editor)
- ผลงานวิจัยต้องไม่เป็นผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับ Resident หรือ Fellow ของผู้ขอรับการสนับสนุน
- การขอทุนสนับสนุนผลงานวิจัย ต้องขอภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากผลงานได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นทางการทางอิเลคทรอนิกส์ (publish online)
- งานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทางอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ การอนุมัติการสนับสนุนขึ้นกับการตัดสินของคณะอนุกรรมการ
ผลงานวิจัยและบทความวิชาการขอรับทุน
ก. งานวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Orthopaedic trauma ในภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศ ที่มีการดำเนินการในประเทศไทย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบ Original article ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Pubmed (Medline) หรือ Scopus ที่มีการเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป
ข. บทความวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Orthopaedic trauma ในภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศ ที่มีการดำเนินการในประเทศไทย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ ในรูปแบบ Review article, Case report, Surgical technique หรือ Short communication ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Pubmed (Medline) หรือ Scopus ที่มีการเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป
ค. บทความวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Orthopaedic trauma ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบ Book chapter ในหนังสือ/ตำราภาษาต่างประเทศ ที่มีการแพร่ในปี 2024 เป็นต้นไป โดยเป็นหนังสือที่มีบรรณาธิการเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ และต้องมีผู้ร่วมนิพนธ์ในหนังสือตั้งแต่ 5 ท่านขึ้นไป
- ข้อกำหนดในการขอเงินสนับสนุนผลงาน Book chapter ในหนังสือเล่มเดียวกัน โดยอาจจะมีข้อกำหนดจำนวนสูงสุดที่สามารถขอเงินสนับสนุนได้
- การพิจารณาว่าหนังสืออยู่ในระดับนานาชาติ ให้ถือว่าอยู่ใน index medicus เป็นสำคัญ (Scopus, Medline)
หมายเหตุ ผลงานที่ไม่ได้รับการสนับสนุนได้แก่ Proceeding, Letter to editor, J Med Assoc Thai ฉบับ supplement
เงินทุนสนับสนุนการตีพิมพ์
ผลงานวิจัยในข้อ ก (Original article) ให้ทุนสนับสนุนตาม ระดับ Quartile ของ Journal Citation Reports (JCR) โดยให้การสนับสนุนดังนี้
- ระดับ Q1 สนับสนุนเรื่องละ 10,000 บาท
- ระดับ Q2 สนับสนุนเรื่องละ 8,000 บาท
- ระดับ Q3 สนับสนุนเรื่องละ 6,000 บาท
หมายเหตุ งานวิจัยที่ได้รับเงินสนับสนุนต้องนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุม TOTAC ปีถัดไป โดยสามารถให้ผู้นิพนธ์ร่วม (Co-author) เป็นผู้นำเสนอได้ หากผู้วิจัยที่ได้รับการสนับสนุนไม่ได้นำเสนองานวิจัย จะไม่มีสิทธิ์ขอรับเงินสนับสนุนในปีถัดๆไป จนกว่าจะได้นำเสนอ ยกเว้นมีเหตุจำเป็นที่อธิบายได้
- ผลงานวิจัยในข้อ ก (original article) ในวารสารระดับ Q4 ตาม JCR หรือวารสารที่ไม่มี impact factor ให้การสนับสนุนเรื่องละ 4,000 บาท
- บทความวิชาการในข้อ ข ให้ทุนสนับสนุนเรื่องละ 4,000 บาท
- บทความวิชาการในข้อ ค (book chapter) ให้การสนับสนุนเรื่องละ 10,000 บาท
- ผู้ที่มีสิทธิ์ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ สมาชิก TOTS
ทั้งนี้ การพิจารณาการตอบแทนขึ้นอยู่กับการตัดสินของคณะกรรมการ โดยความเห็นของคณะกรรมการถือเป็นข้อสิ้นสุด
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ totac.research@gmail.com